วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิธีการย้ายปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกร

การย้ายปลาเป็นสิ่งสำคัญมาก หากย้ายผิดวิธีอาจทำให้ปลาราคาหลายตังค์ของเรานั้นตายหรือบาดเจ็บ พิการได้ การวางยาสลบปลา
อุปกรณ์อย่างแรกที่ต้องมีก็คือยาสลบปลาครับ ยาสลบปลานั้นโดยทั่วไปสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ และร้านขายปลาอะโรฯตามตลาดนัดซันเดย์ หรือเซเว่นเดย์เป็นต้น ซึ่งก็จะมีขายหลากหลายยี่ห้อนะครับ โดยส่วนตัว...ถ้าเลือกได้..ผมมักจะใช้ยี่ห้อ transmore ซึ่งหายากในซันเดย์ แต่เป็นที่นิยมกันในสิงคโปร์และมาเลย์เซีย ในเมืองไทย...เท่าที่ทราบก็มีร้าน best arowana รังสิตที่นำเข้ามาจำหน่าย ขนาดของขวดจะเล็กกว่ายาสลบยี่ห้ออื่น

เวลาเลือกซื้อก็ควรจะดูวัน หมดอายุ วันผลิต รวมทั้งสถานที่จัดเก็บยา ไม่ควรซื้อในร้านที่วางยาโดนแดดนะครับ เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพได้

การวางยาสลบปลานั้น..โดยทั่วไปจะมี 2 ลักษณะ
แบบแรก...วางแต่พอมึน ใช้ในกรณีย้ายปลา หรือทำศัลยกรรมเล็กน้อย
แบบที่สอง...วางแบบสลบเลย ใช้ในกรณีที่ทำศัลยกรรมหนัก เป็นต้น

สิ่ง หนึ่งที่อยากให้คำนึงตลอดเวลาก็คือ ในกรณีวางยาสลบคน...ทางการแพทย์ยังมีหมอเฉพาะทางที่เกี่ยวกับการวางยาสลบเลย แสดงว่า...การวางยาเป็นเรื่องสำคัญ และอันตรายอย่างมาก สำหรับปลาก็เช่นกัน การที่ปลาจะมึนหรือสลบนั้น..ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ใช่แค่ปริมาณยาสลบเท่านั้น ปริมาณน้ำในตู้ ความอดทนต่อยาสลบของปลาแต่ละตัวก็เป็นปัจจัยที่สำคัญด้วยเช่นกัน มีผู้เลี้ยงหลายท่านต้องเสียปลาไปเพราะวางยาเกินขนาดมาแล้วไม่น้อย ด้วยเหตุผลที่ว่า ใส่ยาไป ณ ระดับหนึ่งแล้ว รอสักพักแล้ว ปลาก็ยังไม่มึนเลย ก็เลยใส่ยาเพิ่ม ซึ่งความจริงแล้ว..ปลาตัวนั้นอาจจะเป็นปลาที่มีความอดทนต่อยาสูง แต่พอผู้เลี้ยงใส่ยาเพิ่ม ท้ายที่สุดแล้วก็กลายเป็นว่า..ปลาได้รับยาเกินขนาด กลายเป็น"หลับไม่ตื่น"ในที่สุด ขอให้ระลึกไว้ว่า...วางยาโดยใช้เวลานาน แต่ปลาพื้นตัวได้ดีได้เร็ว เป็นสิ่งที่เราต้องการมากกว่า

ปลาแต่ละ ตัวทนยาได้ไม่เท่ากัน และปลาใหญ่ทนได้มากกว่าปลาเล็ก แต่โดสยาที่กำหนดนั้น...ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำอย่างเดียว และคนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ได้ใส่ยาตามโดสยาด้วยซ้ำไป แต่โปรดจำไว้ว่า...ไม่ควรใส่ยาเกินโดสสูงสุดที่กำหนดข้างขวดยาในทุกกรณี

สิ่ง หนึ่งที่สำคัญก็คือ...ยาสลบปลาเข้มข้นนั้น..กัดผิวปลา กระเพาะปลานะครับ ถ้าเราฉีดยาสลบใส่ปลา แล้วบังเอิญไปโดนตัวปลา จะเห็นว่า..สีที่เกล็ดของปลาดูเปลี่ยนไป เป็นคล้ำดำ ซึ่งตรงนี้...ไม่นานก็จะหายเป็นปกติเอง แต่ที่ต้องระวังก็คือ..ถ้าเราฉีดเข้าปาก จมูก หรือเหงือกปลาโดยตรง ตรงนี้จะทำให้ปลาเสียชีวิตได้ เพราะยาสลบจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในของปลาโดยตรง

วิธีที่ดีที่สุดใน การใส่ยาสลบเข้าตู้ก็คือ...การทำให้ยาสลบเจือจางก่อนใส่เข้าตู้ครับ อุปกรณ์ที่ง่ายที่สุดก็คือ "ขันน้ำ"ธรรมดา ๆ นั้นเอง

สำหรับปลาใหญ่ เกิน 18 นิ้ว...ผมแนะนำให้วางยาในตู้นะครับ สำหรับปลาที่เล็กกว่านั้น..เราสามารถต้อนปลาเข้าถุงก่อนแล้วค่อยวางยาในถุง ก็ได้ครับ

เกี่ยวกับถุงที่ใส่อะโรฯนั้น...แนะนำว่าต้องเหนียว หนา นะครับ เพราะเจ้าอะโรฯมีกระโหลกที่หนาใหญ่ การต่อสู้กันของเจ้าอะโรฯ นั้นไม่ใช่แค่กัดกันนะครับ ยังมีถึงการพุ่งชนและขวิดด้วย เพราะฉะนั้นหมายถึงเจ้าอะโรฯตัวโปรดของเรานั้น..สามารถพุ่งชนจนถุงแตก แล้วมาว่ายเล่นที่พื้นในที่สุด แนะนำถุงที่ใช้ใส่อะโรฯโดยเฉพาะครับ ถุงแบบนี้จะเหนียว สามารถทนต่อแรงพุ่งของอะโรฯ ได้ ณ ระดับหนึ่ง แต่...จากเหตุการณ์จริง...ปลาขนาด 2 ฟุตขึ้นก็ยังสามารถพุ่งในถุงจนถุงแตกได้

ขั้นตอนในการวางยาสลบปลาอะโรฯ
1 อย่างแรก..สำคัญมากกกก ก็คือ "ต้องอดอาหารปลาล่วงหน้า" ถ้าเป็นปลาเล็กก็สัก 2-3 วัน ถ้าเป็นปลาใหญ่กินจุกินเก่ง อาจจะต้องอดสัก 4-5 วัน เพื่อไม่ให้ปลาอาเจียนในขณะที่ปลามึน หรือ กำลังสลบ
2 ลดน้ำสักครึ่งตู้เป็นอย่างน้อย แต่ห้ามต่ำกว่าหลังปลา (ให้หาถังมาเก็บน้ำที่ถ่ายออก ณ ระดับหนึ่ง)
3 ถึงตรงนี้...เราอาจจะคำนวนปริมาณน้ำในตู้ เพราะจะได้ทราบโดสสูงสุดที่เราสามารถใส่ยาสลบได้ เช่นเราเหลือในน้ำในตู้ 100 ลิตร โดสสูงสุดของยาสลบต่อน้ำ 100 ลิตรอาจจะเป็น 1 ฝา เป็นต้น(หมายเหตุ โดสตรงนี้เป็นโดสสมมุตินะครับ) ในกรณีนี้...เราก็จะเทยา 1 ฝาในขันน้ำที่เตรียมไว้ ใส่น้ำในขันเพื่อเจือจางยา
ค่อย ๆ เทยาสลบที่เจือจางแล้วลงในตู้ จากนั้นรอสัก 3-5 นาที ดูว่าปลามีอาการมึนยาสลบหรือยัง เราอาจจะลองเอามือสัมผัสที่ตัวปลา ถ้าปลามีอาการมึน..ปลาจะไม่ดีดดิ้นเช่นปกติ ถ้าปลายังไม่มึน..ก็ให้ใส่ยาสลบเพิ่ม ทุกครั้งก่อนที่จะใส่ยาสลบเพิ่ม "ต้อง"รออย่างน้อย 3-5 นาทีก่อนทุกครั้ง ไม่ใช่รอแป๊บเดียวแล้วใส่ยาเพิ่ม ปลาบางตัวอดทนต่อยาสูงมาก ต้องใช้เวลานานหน่อย..."ไม่ใช่การเพิ่มยาไปอีกหน่อย"
ถ้าต้องการวางยา สลบแบบหลับ ก็ค่อย ๆ เพิ่มยาแล้วก็รอไปเรื่อย ๆ ท้ายที่สุด..ก็ไม่ควรใช้ยาเกินขันใบนี้ เพราะเราได้กำหนดโดสยาไว้เรียบร้อยแล้ว
ถ้าปลามีอาการมากเกินกว่าที่เราประเมิณไว้ ให้เติมน้ำจากถังที่เราเก็บไว้ในตอนแรก เพื่อเจือจางยาสลบ

ขั้นตอนการต้อนปลาเข้าถุง
1 ก่อนที่จะต้อนปลาเข้าถุง ให้ลองเป่าลมเข้าถุง รัดปลาถุงแล้วลองเช็คดูว่าถุงรั่วหรือไม่ทุกครั้งก่อนใช้งาน
2 นอกจากถุงแล้ว เรายังควรมีกระชอนไว้ต้อนปลา ปลามักจะกลัวกระชอนมาก ดังนั้นเวลาเจอกระชอนดักหน้า ปลามักจะเปลี่ยนทิศทาง ด้วยวิธีการนี้..ทำให้เราต้อนปลาเข้าถุงได้ง่าย
3 หลังจากลดน้ำ รวมทั้งวางยาสลบปลาแต่พอมึน--ในกรณีปลาใหญ่, ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องต้อนปลาเข้าถุงแล้ว ให้ค่อย ๆ จมถุง ให้กวักน้ำเข้าถุงในปริมาณสมควร อย่าต้อนปลาเข้าถุงที่ยังไม่มีน้ำอยู่ในถุงเด็ดขาด ปลาจะบาดเจ็บและเสียหายได้เพราะการดีดดิ้นในถุงที่มีน้ำน้อย ให้ปากถุงด้านล่างแตะก้นตู้ ส่วนปากถุงด้านบนก็ให้อยู่ผิวน้ำ
4 เวลาต้อนปลา ให้ใช้กระชอนเป็นตัวดักหน้าปลาเพื่อให้ปลาเปลี่ยนทิศทาง อย่าเอากระชอนไปโดนหางปลาเด็ดขาด เพราะปลาจะตกใจอย่างมาก ทำให้ปลาว่ายพรวดพราดอย่างไม่มีทิศทาง และอย่าบีบคั้นปลาเกินเหตุ เช่นกรณีต้อนปลาเข้ามุมแล้ว ปลามีทีท่าที่ไม่รู้จะว่ายไปทางไหน อย่าบีบคั้นปลามากไปกว่านี้ เพราะจะทำให้ปลากระโดดในที่สุด ให้ยอมถอยถุง ถอยกระชอน แล้วเริ่มต้อนใหม่ **โปรดจำว่าทุกครั้งที่เราเอากระชอนต้อนปลา เราต้องกำหนดทิศทางที่ปลาจะว่ายไปทางไหนได้ ถ้าปลามีอาการ..ไม่มีทิศทาง ห้ามบีบคั้นปลาเด็ดขาด
5 เมื่อปลาว่ายเข้าถุงแล้ว ให้รีบรวบปากถุงทันที แต่ทำด้วยความนุ่มนวล และ"ห้าม"ยกถุงขึ้นทันทีโดยเด็ดขาด เพราะปลาจะตกใจอย่างมาก แล้วอาจจะกระโดดในถุง รวมทั้งผู้ที่จับปลาเองก็ยังไม่ทราบน้ำหนักของถุงใบนั้นเลย ***หมายเหตุ ปลาอะโรฯทองมาเลย์เป็นปลาที่มีเครื่องครีบบอบบางกว่าอะโรฯสายพันธุ์อื่น แค่การโดดในถุงก็สามารถทำให้อะโรฯของเราบาดเจ็บจากการที่ครีบหักได้
6 เมื่อรวบถุงแล้ว ให้ยกปากถุงขึ้นบน ยกแค่ปากถุง ไม่ใช่ถุงทั้งใบ ดูว่าปลาสงบหรือไม่ ให้รอจนกว่าปลาสงบถึงจะทำขั้นตอนต่อไป
7 ถ้าน้ำในถุงน้อยไป (ยกง่าย น้ำหนักเบา แต่เสี่ยงต่อปลาตื่นและบาดเจ็บ) ก็ให้เพิ่มน้ำ เวลาเพิ่มน้ำ...อย่าเปิดปากถุงเต็มที่ เดี๋ยวปลาจะกระโดดขึ้นมา
8 ถ้าน้ำในถุงมากไป(ยกยาก น้ำหนักเยอะ แต่ความเสี่ยงต่อปลาน้อยกว่า) ก็ให้กดปากถุงลงน้ำ คลายกำมือที่บีบปากถุงเล็กน้อยแล้ว แล้วยกก้นถุงเพื่อไล่น้ำในถุงให้ออกไป
9 เมื่อมั่นใจว่าน้ำกำลังดีไม่มากไม่น้อยเกินไป ก็ค่อย ๆ ยกถุงออกจากตู้ปลา ถ้ามีผู้ช่วยจะดีมากก ให้ยกด้วยความมั่นคง นิ่มนวล ไม่กระโชกโฮกฮาก

ขั้นตอนการแพ็คปลา
-ถ้า เป็นการย้ายปลาไปยังตู้ใหม่ในบ้าน เราก็สามารถนำถุงปลาไปยังตู้ใหม่ได้เลย ถ้าอุณหภูมิเท่ากันและค่าพารามิเตอร์ของน้ำต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน..ก็สามารถปล่อยปลาได้เลย
-ถ้าเป็นการย้ายปลาไปยังตู้ใหม่ แต่สถานที่ตั้งเดิม แสดงว่าต้องมีการพักปลา ณ ขณะหนึ่ง ให้สวมถุงดำเพื่อให้ปลาสงบ จากนั้นให้หาถังหรือกล่องโฟมมาลองถุงไว้ ใส่หัวทรายลงไปในถุง..ให้มั่นใจว่าหัวทรายจุ่มน้ำ ไม่ลอยเหนือน้ำ
-ถ้า เป็นการย้ายปลาไปยังสถานที่ใหม่ ไม่ไกลเกินไปนัก ให้สวมถุงดำ จากนั้นก็ให้ใส่ในถังหรือกล่องโฟม เตรียมเครื่องเติมอากาศแบบใช้ถ่านให้เรียบร้อย จุ่มหัวทรายลงไปในถุงให้มั่นใจว่าไม่ลงเหนือน้ำ รัดปากถุงพอควร ไม่ใช่แน่นจนไปบีบสายยางอ๊อกซิเจน ไว้ในบริเวณที่อากาศไม่ร้อนไม่เย็นเกินไป (คงไม่ใช่ท้ายรถแน่นอน)
-ถ้า เป็นการย้ายในระยะทางไกล ให้อัดอ๊อกฯจากถัง โดยอาจจะไปอัดอ๊อกฯที่ร้านขายปลาแถวบ้าน เป็นต้น รัดปากถุงให้แน่น จากนั้นให้สวมถุงซ้ำอีกรอบ แล้วรัดปากถุงให้แน่น เพราะถ้าถุงในรั่วหรือซึมทางปากถุง(รัดยางไม่แน่นหรือไม่ดี) ก็ยังมีถุงนอกอีกชั้น สวมถุงดำอีกทีหนึ่ง แล้วใส่กล่องโฟม ปิดกล่องโฟมให้ดี ติดเทปรัดแน่น

การปล่อยปลาลงตู้ใหม่
อย่างที่ ทราบว่า...ก่อนปล่อยปลาในตู้ใหม่ต้องมีการปรับสภาพปลาทุกครั้งด้วยการลอยถุง แต่วิธีนี้...เราจะปรับได้แค่อุณหภูมิเท่านั้น ไม่ได้เป็นการปรับค่า ph และค่าพารามิเตอร์อื่น ๆ ของน้ำเลย
ในกรณีที่ค่าน้ำของน้ำในถุงกับน้ำ ในตู้ต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นค่า ph หรือค่าอื่น ๆ ถ้าเราไม่ได้มีการค่อย ๆ ปรับสภาพน้ำให้ดี..ก็สามารถจะทำให้ปลาเครียด จนถึงขั้นทำให้ปลาตัวนั้นตายได้
วิธีการปรับสภาพน้ำก็คือ...เมื่อลอยปลา ไปได้สัก 15 นาที ให้คลายปากถุงออก แล้วค่อย ๆ เติมน้ำในตู้ใหม่ใส่ถุงทีละขัน(หรือถ้วย) ทิ้งไว้สัก 3-5 นาทีแล้วค่อย ๆ เติมน้ำเข้าไปอีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งน้ำเต็มถุง ซึ่งก็คงใช้เวลานานระดับเกินครึ่งชั่วโมง จากนั้นถึงจะปล่อยปลาในตู้ใหม่

เทคนิคเล็กน้อยสำหรับการปรับสภาพน้ำ
โดย ปกติแล้ว...ถ้าเป็นปลาอะโรฯแดง หรือปลาที่เลี้ยงในน้ำเก่า น้ำในตู้ใบนั้นจะมีค่า ph ต่ำมาก ซึ่งก็คือ..มีความเป็นกรดสูง ในขณะที่น้ำใหม่จากการประปาบ้านเรา..จะมีค่าph เป็น 8.0 เพราะฉะนั้น..ถ้าค่าphในตู้ใบเก่าที่เราเลี้ยงอะโรฯมีค่า ph เป็น 5.0 ก็ขอให้ทราบว่า...ที่ค่า ph 5.0 นั้นมีความเป็นกรดเป็นด่างแตกต่างกับค่า ph 8.0 ถึง 1000 เท่า(หนึ่งพันเท่า)
ดังนั้น...ถ้าเราปรับสภาพปลาไม่ ดี...นั่นก็หมายถึง ปลาต้องเผชิญกับความเครียดอันเกิดจากค่า ph อย่างมหาศาล ซึ่งปลาบางตัวก็ไม่สามารถทนได้...และก็ตายไปในที่สุด
เมื่อ รู้อย่างนี้แล้ว...เราจึงควรเตรียมการล่วงหน้าเป็นดีที่สุด ขั้นตอนก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย โดยมีขั้นตอนดังนี้...ก่อนย้ายปลา 1 อาทิตย์ ช่วงนี้ให้เปลี่ยนน้ำในตู้ใบเก่าในปริมาณ 10% ทุกวัน ห้ามเปลี่ยนน้ำในปริมาณต่อครั้งมากกว่านี้ แค่นี้ก็สามารถทำให้น้ำในตู้ปลาใบเก่าของเรามีค่า ph ใกล้เคียงกับตู้ใบใหม่มากขึ้นแล้ว

ในกรณีที่ย้ายปลาไปยังตู้ใบใหม่แต่ต้องตั้งในตำแหน่งเดิมของตู้ใบเก่า ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ตู้ใบใหม่นั้นมีขนาดมากกว่าตู้ใบเก่าแน่นอน ซึ่งขั้นตอนทั้งหมด...ต้องบอกว่ายุ่งยากกว่าการย้ายไปยังสถานที่ใหม่แน่นอน ครับ

หลัก ๆ ก็คือ โดยปกติแล้วตู้ใบใหม่ต้องล้างทำความสะอาดให้ดี จนมั่นใจว่ากลิ่นกาวซิลิโคนเจือจางที่สุด ซึ่งเราควรจะใส่น้ำเต็มตู้และใส่เกลือในปริมาณมาก ๆ แล้วก็เดินระบบกรองเพื่อให้น้ำเวียนให้ทั่วตู้อย่างต่ำ ๆ 12 ชั่วโมงด้วยซ้ำไป
และถ้าเราไปทำแบบนี้ที่ร้านประกอบตู้...รับรองได้ว่า.. เค้าไม่ทำให้แน่นอน แต่ถ้าเราจะทำที่บ้านเรา แสดงว่าเราก็ต้องหาที่ตั้งที่ใหม่ เพื่อวางตู้ใบนี้ก่อน แล้วก็จัดการล้างให้ดี เมื่อพร้อมแล้ว..ก็ต้องมีการย้ายตู้ใบนี้อีกครั้ง เพื่อไปยังสถานที่ตั้งของตู้ใบเก่า

แต่ถ้าตู้ใบใหม่...เป็นตู้ใช้แล้ว...อย่างนี้ง่ายกว่าแน่นอนครับ เพราะพร้อมใช้งานเลย

หลัก ๆ ก็มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1 ปรับน้ำในตู้เก่าด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำล่วงหน้าทุกวัน วันละ 10% อย่างน้อย 1 อาทิตย์
2 เตรียมล้างตู้ใหม่ใบเรียบร้อย พร้อมใช้งาน
3 ลดน้ำในตู้เก่าเพื่อจับปลา ในขั้นตอนนี้..ถ้ามีภาชนะใหญ่พอที่จะเก็บน้ำให้ได้มากที่สุดก็จะดี เพราะจะทำให้ปลาปรับตัวได้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องซีเรียสนะครับ
4 จับปลา ย้ายปลา แล้วพักปลาให้เรียบร้อย
5 ลดน้ำในตู้เก่าให้มากที่สุด แล้วทำการย้ายออก
6 ติดตั้งตู้ใหม่ เติมน้ำ จัดการวัสดุกรอง ระบบกรองให้เรียบร้อย
7 แนะนำเป็นส่วนตัวว่า...ให้หา aquasafe ของ tetra มาใช้ เพราะมีส่วนช่วยลดความเครียดของปลา เคลือบผิวปลา โดยเติมเข้าไปในตู้ใบใหม่ของเราก่อนลงปลา
8 ย้ายปลาเข้าตู้ใหม่ โดยปรับสภาพให้เรียบร้อย

เห็น แบบนี้..อย่าคิดว่าง่ายนะครับ ไหนจะปลา ไหนจะตู้เก่าที่ต้องย้ายออก ไหนจะตู้ใหม่ที่ต้องย้ายเข้า พูดได้เลยว่า...เหนื่อยและวุ่นน่าดู

หรือ อีกวิธีก็คือ...หาซื้ออ่างพลาสติกมาพักปลาล่วงหน้าครับ โดยการพักปลาลงอ่างก่อน วิธีนี้..วันที่เราจัดการกับตู้ใหม่และตู้เก่า เราจะได้ไม่ต้องพะวงเกี่ยวกับปลาอะโรฯ แต่วิธีนี้มีข้อเสียก็คือ...ต้องมีการย้ายปลา 2 ครั้ง ซึ่งทุกครั้งที่ย้ายปลาและวางยาปลา...ก็ต้องบอกว่า..มีความเสี่ยงทุกครั้งครับ
ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี | โปรแกรมแปลงไฟล์ หนัง เพลง | โปรแกรมวิดีโอ ออดิโอ ดูหนังฟังเพลง | โปรแกรมด้านความปลอดภัย | โปรแกรมบราวเซอร์และปลั๊กอิน | โปรแกรมกราฟฟิกและรูปภาพ | โปรแกรมอินเตอร์เน็ต | โปรแกรมนักพัฒนา และ Developers | โปรแกรมด้านเครือข่าย Network | โปรแกรมเดสท็อป Desktop | โปรแกรมด้านธุรกิจ | โปรแกรมทั่วไป | ค้นหาโปรแกรม | โหลดเกมส์ PC | โหลดเกมส์มือถือ | ดูคลิปวีดีโอ เด็ดๆ | สาวสวย-น่ารัก-Sexy | รูปภาพ-ดารา-นักร้อง | รูปภาพ - วอลเปเปอร์สวยๆ | รูปการ์ตูน | Camfrog แคมฟร็อกโค๊ดโปร 100 จอ | ที่พักสุโขทัย | เที่ยวสุโขทัย | ตั้งชื่อ | sukhothai | ข่าวสารบ้านเมือง | ข้อมูล 77 จังหวัด | วันสำคัญ | กลอน - บทความ | สูตรอาหาร | 3-XX | ประวัติศาสตร์สุโขทัย | ข้อมูลจังหวัดสุโขทัย | แหล่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย | ข้อมูลการเดินทางมาจังหวัดสุโขทัย | แผนที่จังหวัดสุโขทัย | ราคาห้องพัก ช่วงลอยกระทง ดีดี รีสอร์ท จังหวัดสุโขทัย | อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย | พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช | ศาลพระแม่ย่า | พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย | พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง | อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง จังหวัดสุโขทัย) | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก | สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง) | อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย | ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง) | อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย | หลวงพ่อศิลา | วัดพิพัฒน์มงคล | วัดศรีชุม | วัดพระพายหลวง | วัดศรีสวาย | วัดชนะสงคราม | จองห้องพัก โรงแรม รีสอร์ท ห้องพักราคาถูกประหยัด ติดต่อเรา ดีดีรีสอร์ท จังหวัดสุโขทัย | รถรับจ้างในจังหวัดสุโขทัย | ยากูซ่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น